การรับรองระบบงานด้านสินค้าเกษตรและอาหาร

ข้อตกลงการยอมรับร่วมในการรับรองระบบงานจาก IAF( IAF MLA )และ APAC (APAC MLA)

จะเป็นที่ยอมรับและมีความทัดเทียมกับหน่วยรับรองระบบงานของต่างประเทศ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นในระบบการตรวจสอบรับรองของประเทศไทย มกอช. จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิกในองค์กรระดับสากลที่เกี่ยวข้องกับการรับรองระบบงาน เช่น Pacific Accreditation Cooperation (APAC), International Accreditation Forum (IAF) เป็นต้น ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้ระบบการตรวจสอบรับรองของไทยได้รับความเชื่อมั่นและการยอมรับในระดับสากลและจากประเทศคู่ค้า ส่งผลให้สินค้าของไทยที่ได้รับการรับรองเป็นที่เชื่อถือของประเทศคู่ค้าและก่อให้เกิดการขยายตัวของการส่งออกสินค้าได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการค้าสินค้า ลดการตรวจสอบซับซ้อนโดย มกอช. ได้นำมาตรฐานสากลการเป็นหน่วยรับรองระบบงาน หรือ ISO/IEC 17011:2017 General requirements for accreditation bodies accreditation conformity assessment bodies มาประยุกต์ใช้ และ มกอช. ได้ยื่นสมัครเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรับรองระบบงาน ในวันที่ 17 มิถุนายน 2553 มกอช. ในนามของคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช.) หรือ National Accreditation Council (NSC) ได้รับการยอมรับจากองค์การภูมิภาคแปซิฟิกว่าด้วยการรับรองระบบงาน (APAC) ให้ มกอช. เป็นหน่วยรับรองระบบงานด้านการรับรองผลิตภัณฑ์ (Product Certification) ในขอบข่ายมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และเกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) และต่อมาในวันที่ 30 กันยายน 2553 องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงาน (IAF) ได้ยอมรับ มกอช. ในขอบข่ายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน

ในปี 2558 มกอช. ได้ยื่นสมัครขยายขอบข่ายการยอมรับความเท่าเทียม ด้านมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยอาหาร (Food Safety Management System : FSMS) จาก PAC ซึ่ง มกอช. ได้ผ่านกระบวนการประเมินความเท่าเทียม (Peer evaluation) และเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559 มกอช. ได้ร่วมลงนามการทำข้อตกลงการยอมรับความเท่าเทียมด้านการรับรองระบบงาน (APAC MLA) ขอบข่ายระบบการจัดการความปลอดภัยอาหาร (FSMS) และในวันที่ 29 ตุลาคม 2560 ได้ร่วมพิธีลงนามทำข้อตกลงการยอมรับความเท่าเทียมด้านการรับรองระบบงาน (IAF MLA) ขอบข่ายระบบการจัดการความปลอดภัยอาหาร (FSMA) ในนาม NSC ซึ่งการลงนามข้อตกลงนี้ จะส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารจะมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะช่วยลดขั้นตอนการตรวจซ้ำที่ประเทศปลายทาง และผู้ผลิต ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้หน่วยรับรองภายในประเทศมาตรวจรับรองโรงงานแทนการใช้หน่วยรับรองจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรอง ทำให้สินค้าเกษตรไทยมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น