สาธารณรัฐอินโดนีเซียประกาศการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการตรวจสอบระบบความปลอดภัย ทางอาหารของประเทศไทย
สาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ออกประกาศการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการตรวจสอบระบบความปลอดภัยทางอาหารของไทย จำนวน 8 ราย ตามกฎกระทรวงเกษตร ฉบับที่ 1832/KR.040/K03/2022 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2565 ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการตรวจสอบความปลอดภัยจากแหล่งผลิตพืชอาหารสดของประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. รายชื่อห้องปฏิบัติการของประเทศไทย จำนวน 8 ราย ที่ได้รับอนุญาตให้ออกใบรับรองผลการวิเคราะห์ (Certificate of analysis; COA) สำหรับพืชอาหารที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐอินโดนีเซีย รวมทั้งขอบข่ายการทดสอบของห้องปฏิบัติการ โดยระยะเวลาการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ มีอายุ 3 ปี (25 มีนาคม 2565 - 25 มีนาคม 2568)
2. รายชื่อชนิดพืชอาหารและสารตกค้างที่ต้องตรวจวิเคราะห์ โดยมีการระบุรายละเอียดประเภทสารตกค้างที่จะต้องตรวจวิเคราะห์ในพืชอาหารของประเทศไทย จำนวน 12 ชนิด ได้แก่ ข้าว หอมแดง พริกแห้ง ทุเรียน ลำไย ถั่วเหลือง ถั่วปากอ้า ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ลิ้นจี่ ข้าวโพด มะม่วง และแคนตาลูป
3. การเพิกถอนการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ กรณีปฏิบัติไม่สอดคล้องตามกฎระเบียบของกระทรวงเกษตร สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฉบับที่ 55/PERMENTAN/KR.040/11/2016 ว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยทางอาหารสำหรับการนําเข้าพืชอาหาร
4. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ (เช่น สถานะการได้รับการรับรอง ที่อยู่ เป็นต้น) หรือข้อมูลการใช้และการห้ามใช้สารกำจัดศัตรูพืชของประเทศแหล่งกำเนิด หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับความปลอดภัยอาหารของประเทศไทยต้องส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานกักกันพืช (Indonesian Agricultural Quarantine Agency: IAQA) ของสาธารณรัฐอินโดนีเซียโดยทันที
5. กฎกระทรวงฯ ฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
ที่มา: กรมวิชาการเกษตร
สาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ออกประกาศการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการตรวจสอบระบบความปลอดภัยทางอาหารของไทย จำนวน 8 ราย ตามกฎกระทรวงเกษตร ฉบับที่ 1832/KR.040/K03/2022 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2565 ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการตรวจสอบความปลอดภัยจากแหล่งผลิตพืชอาหารสดของประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. รายชื่อห้องปฏิบัติการของประเทศไทย จำนวน 8 ราย ที่ได้รับอนุญาตให้ออกใบรับรองผลการวิเคราะห์ (Certificate of analysis; COA) สำหรับพืชอาหารที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐอินโดนีเซีย รวมทั้งขอบข่ายการทดสอบของห้องปฏิบัติการ โดยระยะเวลาการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ มีอายุ 3 ปี (25 มีนาคม 2565 - 25 มีนาคม 2568)
2. รายชื่อชนิดพืชอาหารและสารตกค้างที่ต้องตรวจวิเคราะห์ โดยมีการระบุรายละเอียดประเภทสารตกค้างที่จะต้องตรวจวิเคราะห์ในพืชอาหารของประเทศไทย จำนวน 12 ชนิด ได้แก่ ข้าว หอมแดง พริกแห้ง ทุเรียน ลำไย ถั่วเหลือง ถั่วปากอ้า ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ลิ้นจี่ ข้าวโพด มะม่วง และแคนตาลูป
3. การเพิกถอนการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ กรณีปฏิบัติไม่สอดคล้องตามกฎระเบียบของกระทรวงเกษตร สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฉบับที่ 55/PERMENTAN/KR.040/11/2016 ว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยทางอาหารสำหรับการนําเข้าพืชอาหาร
4. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ (เช่น สถานะการได้รับการรับรอง ที่อยู่ เป็นต้น) หรือข้อมูลการใช้และการห้ามใช้สารกำจัดศัตรูพืชของประเทศแหล่งกำเนิด หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับความปลอดภัยอาหารของประเทศไทยต้องส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานกักกันพืช (Indonesian Agricultural Quarantine Agency: IAQA) ของสาธารณรัฐอินโดนีเซียโดยทันที
5. กฎกระทรวงฯ ฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป